8.06.2554

How to use Stellarium , planetarium programe

โปรแกรมท้องฟ้าจำลอง Stellarium


     โปรแกรมท้องฟ้าจำลองเป็นโปรแกรมที่ใช้เป็นสื่อการสอนทางดาราศาสตร์ชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ในการสอนวิชาดาราศาสตร์ได้เป็นอย่างดียิ่งชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมหรือแม้แต่ในปัจจุบันก็อาจจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าไรนักในการเรียนการสอนดาราศาสตร์โปรแกรมที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกัน เช่น โปรแกรม Starry Night เป็นโปรแกรมท้องฟ้าจำลองที่อาจจะมีใช้อยู่บ้างในสถานศึกษาบางแห่ง และหน่วยงานที่ให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์ เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อหามาใช้ในราคาที่ค่อนข้างแพง โดยเฉพาะถ้าเป็นโปรแกรมรุ่นใหม่ๆที่มีระบบการใช้งานหรือรายละเอียดการควบคุมที่ซับซ้อนจะมีราคาตั้งแต่หลักหลายพันบาทจนถึงหลายหมื่นบาทเลยทีเดียว แต่สำหรับโปรแกรมที่จะนำมานำเสนอให้ได้รู้จักและแบ่งปันกันนำไปใช้กันนี้เป็นโปรแกรมท้องฟ้าจำลองที่แจกฟรีสำหรับนำไปใช้เพื่อการศึกษา มีชื่อเรียกว่า Stellarium ซึ่งมีลักษณะเป็นซอฟต์แวร์ท้องฟ้าจำลองแบบ 3 มิติ แสดงภาพท้องฟ้าเหมือนจริง สามารถสภาพของท้องฟ้า ดวงดาว และยังเลือกแสดงเส้นกลุ่มดาว รูปภาพกลุ่มดาว ชื่อของดวงดาวต่างๆ ชื่อกลุ่มดาวที่เป็นกลุ่มดาวสากล รวมถึงจำลองการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า และยังเลือกเวลาและสถานที่ที่ใช้ในการสังเกตได้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้สอนดูดาวประกอบท้องฟ้าจริง หรือใช้สอนประกอบการใช้แผนที่ดาว ถ้าท่านที่สนใจอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโปรแกรมนี้ ที่ http://www.stellarium.org


แถบเครื่องมือต่างๆและวิธีการใช้งานเบื้องต้น


ตารางแสดงแถบเครื่องมือใน main tool bar
     บางปุ่มใช้สำหรับการเลือกเปิด-ปิดลักษณะบางประการเพื่อความเหมาะสมต่อการนำเสนอหรือความเหมือนจริงของซอฟต์แวร์  บางปุ่มใช้เปิดหน้าต่าง (Windows) เพื่อตั้งหรือกำหนดค่าต่าง ๆ   การเปิด-ปิดปุ่มสามารถทำได้ 2 วิธี คือ ใช้เมาส์คลิกที่ปุ่มแถบเครื่องมือ หรือกดแป้นอักขระบนคีย์บอร์ดเป็นแถบเครื่องมือที่อยู่ทางด้านซ้ายของภาพในจอภาพ


ลักษณะ
ปุ่มแถบเครื่องมือ
แป้นอักขร
รายละเอียด
กลุ่มดาว

C
วาดเส้นเชื่อมระหว่างดาว ช่วยให้เห็นเป็นกลุ่มดาว
ชื่อกลุ่มดาว

V
เปิด-ปิดป้ายชื่อกลุ่มดาว
ภาพกลุ่มดาว

R
เปิด-ปิดการซ้อนภาพสัญลักษณ์ในกลุ่มดาว
กริดแอซิมัท

Z
เปิด-ปิดเส้นกริดในระบบพิกัด Alt/Azi
กริดศูนย์สูตร

E
เปิด-ปิดเส้นกริดในระบบพิกัด RA/Dec
พื้นดิน

G
เปิด-ปิดภาพพื้นดินให้ทะลุเห็นดาวใต้พื้นดิน
จุดทิศหลัก

Q
เปิด-ปิดให้เห็นเครื่องหมายจุดทิศหลัก
บรรยากาศ

A
เปิด-ปิดให้สามารถมองเห็นดาวได้ในเวลากลางวัน
เนบิวลาและกาแล็กซี

N
เปิด-ปิดเครื่องหมายแสดงตำเหน่งเนบิวลาและกาแล็กซี  เมื่อฟีลด์การมองเห็นกว้างเกินไป
ชื่อดาวเคราะห์

P
เปิด-ปิดชื่อดาวเคราะห์
ระบบพิกัด

Ctrl+M
เปิดสลับกันระหว่าง Alt/Azi และ RA/Dec
ไปดูที่

Space
เลื่อนและตรึงวัตถุท้องฟ้าที่เลือกไว้ให้อยู่ตรงกลางจอภาพ
โหมดกลางคืน

-
เปิด-ปิดการแสดงภาพด้วยแสงสีแดง
เปิดโปรแกรมเต็มจอ

F11
เปิดโปรแกรมแบบ full-screen
มุมมองแบบกลม

Ctrl+O
ปรับมุมมองเป็นการมองรอบวัตถุเป็นวงกลม
วงโคจรของดาวเทียม

Ctrl+Z
เปิด-ปิดเส้นวงโคจรของดาวเทียม
ออกจากโปรแกรม

Ctrl+q
ปิดโปรแกรมสเตลลาเรียม

ตารางแสดงแถบเครื่องมือใน time control bar
     เป็นแถบเครื่องมือที่อยู่ด้านขวาของภาพในจอภาพ  ซึ่งประกอบด้วยปุ่มปรับจำนวน 4 ปุ่ม ใช้สำหรับการเปลี่ยนทิศทางหรือปรับอัตราการเคลื่อนของเวลา  เมื่อเริ่มเปิดซอฟต์แวร์สเตลลาเรียม โปรแกรมจะกำหนดวันและเวลาตามค่าของระบบ  การแสดงการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนของเวลาในระบบ  อย่างไรก็ตาม สามารถปรับให้เวลาเคลื่อนไปข้างหน้า (เดินหน้า) หรือเคลื่อนถอยหลังได้    นอกจากนี้ ยังสามารถปรับความเร็วได้อีกด้วย  


ลักษณะ
ปุ่มแถบเครื่องมือ
แป้นอักขระ
รายละเอียด
เวลาถอยหลัง

J
ปรับเวลาให้เคลื่อนถอยหลัง   เลือกซ้ำความเร็วเพิ่มขึ้น
ความเร็วปกติ

K
ปรับเวลาให้เคลื่อนไปด้วยความเร็วปกติ
เวลาเดินหน้า

L
ปรับเวลาให้เคลื่อนไปข้างหน้า  เลือกซ้ำความเร็วเพิ่มขึ้น
กลับสู่เวลาปัจจุบัน

8
เลือกกลับมาสู่เวลาและวันที่ที่เป็นปัจจุบัน
     
     สำหรับการกำหนดตำแหน่งสังเกตเราสามารถตั้งตำแหน่งสังเกตได้จากปุ่มบนแถบเครื่องมือ Location window  ซึ่งทำได้โดยการใช้เมาส์เลือกตำแหน่งสังเกตในแผนที่โดยตรงหรือการใช้เมาส์เลื่อนปุ่มควบคุม โดยเราจะต้องทราบตำแหน่งลองจิจูดและละติจูดของจุดสังเกตด้วย และเมื่อกำหนดค่าได้ตามต้องการแล้วให้บันทึกค่าโดยทำการตั้งชื่อของจุดสังเกตและเลือกเลือก add to list เพื่อทำการบันทึกจุดสังเกตนั้นๆ

     การกำหนดวันที่และเวลาที่เราจะทำการสังเกตนั้นสามารถปรับค่าได้จากปุ่มบนเครื่่องมือ Date / time window โดยปกติแล้วซอต์ฟแวร์นี้จะใช้เวลาปัจจุบันและเขตเวลาจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งการตั้งวันและเวลาจะมีผลต่อตำแหน่้งของดวงดาว

     ในการเลือกภูมิทัศน์ซอต์ฟแวร์นี้ได้มีการกำหนดภูมิทัศน์ให้เลือกถึง 6  แบบประกอบด้วย Garching , Guereins , Hurricane , Moon , Ocean และ Trees ซึ่งสามารถเลือกได้ในแถบเครืองมือดังรูป นอกจากนี้ในแถบเครื่องมือ sky and viewing option window นี้ยังสามารถปรับและตั้งค่าการกำหนดโหมดภาพหรือวิธีการฉายภาพในท้องฟ้า ซึ่งการฉายภาพแต่ละแบบมีความแตกต่างกันควรเลือกใช้ให้เหมาะสม และ เราสามารถกำหนดค่าการแสดงเส้นลองจิจูด ละติจูด เส้นศูนย์สูตร ฯลฯ รวมไปถึงการแสดงตำแหน่งรูปร่างของดาวตามตำนานของแต่ละภูมิภาคของโลกได้อีกด้วย 

     ในการค้นหาตำแหน่งของดวงดาวต่างๆถ้าเราทราบชื่อของดาวดวงนั้นๆเราสามารถค้นหาได้ทันทีจากแถบเครืื่องมือ Search window โดยทำการพิมพ์ชื่อของดวงดาวที่ต้องการค้นหา

   และในการกำหนดภาษาและการตั้งค่าเบื้องต้นต่างๆของโปรแกรมสารถปรับค่าได้ที่แถบเครื่องมือ Configuration window เมื่อทำการปรับค่าเสร็จแล้วสามารถบันทึกค่าได้โดยคำสั่ง save setting 

     แถบเครื่องมือสุดท้าย Help window จะเป็นการรวบรุมและสรุปปุ่มลัดต่างๆบนคีย์บอร์ดเพื่อให้ง่ายแก่การใมช้งานของผู้ศึกษาและจะมีรายละเอียดของโปรแกรมประกอบอยูด้วย


Screenshot








demo - how to use Stellarium





อ้างอิง : http://astronscience.blogspot.com/2008/12/blog-post_06.html
              http://sourceforge.net
              http://google.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น